สุราษฎร์ธานีจัดกิจกรรม Freld Day ถอดสูตรชุบชีวิตทุเรียนใกล้ตาย ให้กับเกษตรกรชาวสวนทุเรียนในพื้นที่ภาคใต้ ว่าอนาคตจะทำอย่างไรให้ทุเรียนมีคุณภาพ ได้ราคา และสามารถสู้กับคู่แข่งได้








วันนี้ที่สวนลุงโหน่ง ตงเขาหวัวควาย อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี นายนันทวัช เจริญวรรณ รองผ^hว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เดินทางมาเป็นประธานเปิดกิจกรรม Field Day ถอดสูตรชุบชีวิตทุเรียนใกล้ตาย ให้กลับฟื้นขึ้นมาได้ ให้กับเกษตรกรชาวสวนทุเรียนในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน โดยมี เกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดสุราษฎร์ธานี เกษตรอำเภอ ประชาสัมพันธุ์จังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตลอดจนผู้ให้กับการสนับสนุนในการให้องค์ความรู้เรื่องทุเรียนตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำว่าเกษตรกรชาวสวนทุเรียนจะทำอย่างไรให้ทุเรียนที่ปลูกมีคุณภาพและสามารถที่จะต้องสู่กับคู่แข่งในต่างประเทศได้ เนื่องจากทุเรียนหมอนทองไม่ใช่ทุเรียนของประเทศไทยอีกต่อไป เป็นที่เรียนอาเซียที่หลายคนพูดถึงเนื่องจากทุเรียนหมอนทองในปัจจุบันมีการปลูกในหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย ลาว อินโดนีเซีย และในปัจจุบันได้มีการนำทุเรียนไปปลูกในประเทศออสเตรีย แล้ว ซึ่งการจัดกิจกรรม Field Day จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 25-28 มิถุนายน 68 ที่สวนลุงโหน่ง ตงเขาหวัวควาย อ.พุนพิน ในวันนี้มีเกษตรกรชาวสวนทุเรียนจากจังหวัดระนองเข้ามาศึกษาเรียนรู้การทำทุเรียนคุณภาพ ว่าทำอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ
นายศิริ เฮ่าสกุล เจ้าของสวนลุงโหน่ง ต.เขาหัวควาย อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี กล่าวว่า การจัดกิจกรรมในวันนี้ที่สวนเนื่องจากเกษตรกรต้องการรู้จักสายพันธุ์ของทุเรียน รู้เรื่องการจัดการสวนทุเรียนว่าทำอย่างไรให้ได้ทุเรียนมีคุณภาพ โดยมีเป้าหมายหลักว่าการทำทุเรียนคุณภาพทำกันอย่างไร และได้มาเห็นว่าทุเรียนมีความหลากหลายของสายพันธุ์ ซึ่งมีถึง 40 สายพันธุ์ที่อยู่ในแปลงนี้ เพื่อที่จะทำให้เกษตรกรรู้ว่าทุเรียนว่าแต่ละพันธุ์เหมาะที่จะปลูกในพื้นที่ไหน ว่าพื้นที่บ้านของเกษตรกรเองปลูกได้หรือไม่ ซึ่งต้นได้เริ่มนับหนึ่งให้กับเกษตรกรแล้วหากที่นี้ปลูกได้เกษตรกรสามารถที่จะนำไปปลูกได้ หากที่นี้ปลูกไม่ได้ก็ไม่ต้อวไปปลูกให้ไปปลูกพันธุ์อื่น เพราะว่าแปลงทดลองแบบของตนในภาคใต้ไม่มี มีแปลงเดียวคือนี้สวนลุงโหน่ง ที่ตนทำก็เพื่อให้เกษตรกรหรือผู้บริโภคได้รับทราบว่าพันธุ์นี้ที่ปลูกมีรสชาติอร่อย พันธุ์นี้ปลูกไม่ได้ ซึ่งจะทำให้เกษตรกรไม่ต้องเดินผิดทาง และการทำทุเรียนคุณภาพทำอย่างไร อาทิ การจัดการแปลง การยกโคก ทำให้ที่สูงขึ้น ทำให้น้ำเสด็จการมีช่องลมผ่าน การเว้นระยะในการปลูกทุเรียน ซึ่งเกษตรกรบางคนยังหาข้อสรุปไม่ได้ว่าจะปลูกระยะห่างเท่าไร ซึ่งมองว่าทุเรียนแปลงนี้มีการทำทุเรียนในเชิงวิทยาศาสตร์ที่มีความก้าวหน้าและมีคุณภาพ ซึ่งจะส่งผลถึงตลาดในอนาคตต่อไป
Share this content: