
ผู้สูงอายุในตำบลมาบไผ่จำนวนกว่า 40 คน สนุกสนานย้อนวัยกับกิจกรรม เล่น เรียน รู้ กีฬาพื้นบ้าน ไม่มีวันเกษียณ









ที่ศาลาเอนกประสงค์ ม.4 ต.มาบไผ่ อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี รองศาสตราจารย์ ดร. จิตติมา เจริญพานิช รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นประธานเปิดโครงการ เล่น เรียน รู้ กีฬาพื้นบ้าน ไม่มีวันเกษียณ ซึ่งโครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนงานเพื่อการพัฒนาศักยภาพกำลังคน โดยได้รับการสนับสนุนจากกองบริหารงานวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยบูรพาเพื่อขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรท้องถิ่น ในพื้นที่เขตพัฒนา พิเศษภาคตะวันออก วัตถุประสงค์หลักของโครงการมี 2 ประการสำคัญ ได้แก่ เพื่อส่งเสริมการทำงานของ ต้นแบบ “โค้ชภูมิปัญญาก็หาพื้นบ้าน” ซึ่งเป็นผู้สูงอายุที่มีความรู้และทักษะในก็ฬาพื้นบ้านไทย อันสามารถถ่ายทอด องค์ความรู้แก่คนรุ่นใหม่ และเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้แก่กลุ่มผู้สูงอายุ โดยอาศัยกิจกรรมกีฬาพื้นบ้านเป็นเครื่องมือในการกระตุ้นการเคลื่อนไหว การมีปฏิสัมพันธ์ ทางสังคม และการเรียนรู้ร่วมกัน กิจกรรมภายใต้โครงการประกอบด้วย การเสวนาและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ การฝึกซ้อมก็พาพื้นบ้าน 5 ประเภท ได้แก่ สะบ้า ไม้หึ่ม เดินกะลา โยนเหรียญ และหมากเก็บ การแข่งขันเชิงสร้างสรรค์ และการจัดเวทีสะท้อนประสบการณ์ “ชีวิตที่แอคทีฟของผู้สูงวัยผ่านกีฬาพื้นบ้าน”
โครงการนี้จัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างโรงเรียนผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลตะพง จังหวัดระยอง และโรงเรียนผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลมาบไม่ จังหวัดชลบุรี ซึ่งได้คัดเลือกผู้สูงอายุที่มีศักยภาพเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 40 คน โค้ชภูมิปัญญาก็หาพื้นบ้าน จำนวน 15 คน
สำหรับกิจกรรมผู้สูงอายุได้ร่วม เล่น เรียน รู้ กับกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน ที่นับวันจะหาดูยากเช่น อีหวึ่ง บอกโพล้ก เดินกะลา โถกเถก อีตัก สะบ้าทอย เป่ากบ ค็อปเตอร์ หมากเก็บ ไม้เดาะ ระหว่างดำเนินกิจกรรมตามโครงการได้แบ่งกลุ่มให้ผู้สูงอายุได้ร่วม เล่น เรียน รู้ กิจกรรมกีฬาพื้นบ้าน ไม่วาจะเป็น กำดัก หมากเก็บ ทอยกอง โยนเหรียญ สะบ้าทอย สร้างความสนุกสนานให้กับผู้สูงวัยที่มีโอกาสได้เพลิดเพลินกับการละเล่นพื้นบ้าน เหมือนได้ย้อนวัยสู่อดีตวันวานอีกครั้ง
ทางด้านรองศาสตราจารย์ ดร. จิตติมา เจริญพานิช รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยบูรพา ได้กล่าวว่า การละเล่นพื้นบ้านถือว่าเป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านที่ชาวบ้านคิดค้นมา พอปัจจุบัน ยุคสมัยมันเปลี่ยนแปลงไป เครื่องเล่นมีความทันสมัยมากขึ้น แต่ไม่ได้มีการฝึกสมอง ฝึกร่างกาย ทางมหาวิทยาลัยบูรพาเล็งเห็นความสำคัญตรงนี้ และเป็นโครงการสนองพระราชดำริของ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งพระองค์ท่านมีพระราชดำริให้อนุรักษ์ หวงแหน ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมในภูมิภาคนี้ทางมหาวิทยาฯจึงสนับสนุนงบประมาณให้กับคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา เพื่อทำการวิจัย ถอดบทเรียน เป็นองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ของภาคตะวันออก ที่ประชาชนเล่นกัน ซึ่งกลุ่มเป้าหมายคือผู้สูงอายุ และผู้สูงอายุก็เป็นกลุ่มที่เล่นกีฬาพื้นบ้านมาตั้งแต่เด็ก มีความเชี่ยวชาญ จึงถอดบทเรียนจากผู้สูงอายุ เพื่อที่จะเป็นต้นแบบและพลิกฟื้นกีฬาพื้นบ้าน ให้กลับมาเป็นที่น่าสนใจอีกครั้ง และในภาพรวมปัจจุบันทำให้เยาวชน เห็นกีฬาหลายๆอย่างอีกครั้ง และ ในอนาคตเร็วๆนี้จะสร้างแอพลิเคชั่นเป็นเกมส์ออนไลน์ เกมส์การละเล่นพื้นบ้านให้สามารถดาวน์โหลดเล่นกันได้
วิศาล แสงเจริญ
ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดชลบุรี
Share this content: