ธนาคารแห่งประเทศไทย สาขาภาคใต้เผยภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้ ไตรมาสแรกยังทรงตัว การเกษตร และท่องเที่ยวเป็นตัวสร้างรายได้หลักให้กับเมืองท่องเที่ยว อย่าง ภูเก็ต กระยี่ และเกาะสมุย สุราษฎร์ธานี แต่ในไตรมาสที่สองจะหดตัวจากไตมาสที่ผ่านมา












วันนี้ที่โรงแรมวังใต้ จ.สุราษฎร์ธานี ธนาคารแห่วงประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ ได้จัดแถลงข่าวภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้ ในช่วงไตรมาส ที่ 1 ของปี 68 และแน้วโน้มเศรษฐกิจภาคใต้ในช่วงไตรมาสที่ 2 โดยมีพาณิชย์จังหวัดสุราษฎร์ธานี คลังจังหวัดสุราษฎร์ธานี สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรสุราษฎร์ธานีรวมถึงสื่อมวลชนเข้ารับฟัง และตอบปัญหา-ข้อสงสัยต่างๆไม่วาจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจโดยรวมของภาคใต้ โครงการ คุณสู้เราช่วย และพระราชกำหนดมาตรการ มาตราป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี(ฉบับที่2) พ.ศ. 2568 (พ.ร.ก.) ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน 68 ที่ผ่านมา
นายทัดลาภ เผ่าเหลืองทอง ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ กล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจของภาคใต้ ในช่วงไตรมาสแรกของปี 68 พบว่าเศรษฐกิจยังทรงตัวจากไตรมาสที่ผ่านมาตามการบริโภคที่ทรงตัว โยมีแรงส่งจากรายได้จากภาคการเกษตร และการท่องเที่ยว โดยในพื้นที่ท่องเที่ยวหลักของภาคใต้ไม่ว่าจะเป็นภูเก็ต กระบี่สงขลา และเกาะสมุย สุราษฎร์ธานี รวมถึงมาตรการกระตุ้นจากภาครัฐช่วยสนับสนุนการใช้จ่ายสินค้า อุปโภค บริโภค ขยายตัวช่วงต้นไตรมาส อย่างไรก็ตามการบริโภคชะลอตัวลงช่วงปลายไตรมาส ตามรายได้จากการท่องเที่ยวที่ลดลงเนื่องจากเป็นช่วงถือศีลอด และนักท่องเที่ยวจีน กังวลด้านความปลอดภัยที่จะเดินทางเข้ามายังประเทศไทย ส่วนการผลิตหดตัวจากปัญหาวัตถุดิบและความต้องการของคู่ค้าที่ลดลง
สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจภาคใต้ ในไตรมาสที่ 2 ของปี 68 คาดว่าจะหดตัวจากไตรมาสที่ผ่านมา โดยการบริโภคชะลอลงตามแรงส่งจากรายได้ภาคการเกษตรที่ปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นราคายางพารา ปาล์มน้ำมันตกต่ำลงและการท่องเที่ยวที่แผ่ลง อีกทั้งคาดว่าความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าระหว่างประเทศจะทำให้การผลิตและส่งออกชะลอตัวลงเช่นเดียวกัน
พระราชกำหนดมาตรการ มาตราป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี(ฉบับที่2) พ.ศ. 2568 (พ.ร.ก.) ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน 68 ที่ผ่านมา ทาง ธทป. ได้กำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของสถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจบริการชำระเงิน(e-money) คือ 1 ต้องป้องกันไม่ให้ประชาชนตกเป็นเหยื่อ 2 ต้องจำกัดความเสียหายและจัดการบัญชีม้า 3 ต้องดูแลประชาชน หากผู้ให้บริการละเลยการปฎิบัติตามารฐานที่ผู้กำกับดูแลทั้งหมด ผู้ให้บริการต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบในความเสียหายของลูกค้า ทั้งนี้ การแก้ไขปัญหาภัยทุจริตทางการเงินอย่างยั่งยืนต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย จึงขอให้ประชาชนใช้บริการทางการเงินด้วยความระมัดระวังและตรวจสอบข้อมูลการทำธุรกรรมอย่างถี่ถ้วนเพื่อไม่ให้ตกเป็นผู้เสียหายจากอาชญากรรมทางเทคโนยี
Share this content: